![]() |
"ตามรอยสุสานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่เถ่งไฮ่ ป.จีน"
[
รวบรวม บทความ | สารคดี | Movie และ Clip การท่องเที่ยวดีดี
สร้างแรงบันดาลใจในการท่องเที่ยวได้ดี
สร้างแรงบันดาลใจในการท่องเที่ยวได้ดี
Moderator: TravelPro Staff
"ตามรอยสุสานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่เถ่งไฮ่ ป.จีน"
โดย LanNy » ศุกร์ 30 ก.ย. 2011 8:23 pm
[code][/code]เถ่งไฮ่เป็นอำเภอเล็กๆ แห่งหนึ่งในเมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน มีประชากรประมาณ ๗๑๐,๐๐๐ คน ปัจจุบันเถ่งไฮ่เป็นเขตอุตสาหกรรมสำคัญแห่งหนึ่ง ตุ๊กตาต่างๆ จากบริษัทผลิตของเล่นชื่อดังของโลกไม่ว่าจะเป็นตุ๊กตาบาร์บี้หรือตุ๊กตาของ วอลต์ดีสนีย์ที่ส่งไปขายทั่วโลก ผลิตมาจากโรงงานในอำเภอเถ่งไฮ่แทบทั้งสิ้น
คน ไทยส่วนใหญ่อาจไม่รู้จักอำเภอเล็กๆ อย่างเถ่งไฮ่ แต่สำหรับลูกหลานชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย น่าจะคุ้นหูกับชื่อนี้ดี
คนจีนที่อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาทำมาหา กินบนแผ่นดินไทยในอดีต ส่วนใหญ่มาจากเมืองแต้จิ๋ว โดยเฉพาะจากอำเภอเถ่งไฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล การเดินทางข้ามมาเมืองไทยสะดวกกว่า ด้วยเหตุนี้คนจีนในเมืองไทยส่วนใหญ่จึงพูดภาษาแต้จิ๋ว บุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน นับตั้งแต่ ปรีดี พนมยงค์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รวมถึงคนในตระกูลรัตตกุล ตระกูลหวั่งหลี ตระกูลเจียรวนนท์ ก็ล้วนมีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากอำเภอเถ่งไฮ่
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่เรามักเรียกกันว่า พระเจ้าตาก ก็ ทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋ว พระบิดาของพระองค์เป็นชาวแต้จิ๋ว เกิดในตระกูลแต้ ชื่อนายแต้เจียว อพยพจากอำเภอเถ่งไฮ่เข้ามาค้าขายในเมืองไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระมารดาเป็นคนไทย ชื่อนางนกเอี้ยง มีอาชีพค้าขาย พระเจ้าตากทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๒๗๗ (หนังสือบางเล่มกล่าวว่าทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๒๗๗) มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าตากทรงได้กลับไปศึกษาที่ประเทศจีนระยะหนึ่งด้วย
นายนิ้ม แซ่ตั้ง วัย ๗๙ ปี ชาวจีนซึ่งเกิดในอำเภอเถ่งไฮ่และอพยพมาตั้งรกรากในเมืองไทยเมื่อ ๖๐ ปีก่อน เล่าให้ฟังว่า
“สมัย ที่ผมอยู่เมืองจีน คนเถ่งไฮ่รู้จักเมืองไทยดี เพราะเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้วที่คนเถ่งไฮ่เดินทางมาค้าขายที่เมืองไทย ที่มาตั้งรกรากอยู่เมืองไทยเลยก็มีมาก ความสัมพันธ์ไทย-จีนนั้นแน่นแฟ้นมาก ถึงกับมีคำไทยที่กลายเป็นภาษาแต้จิ๋ว คือคำว่า ตลาด ชาวแต้จิ๋วเอาไปใช้โดยออกเสียงว่า ‘ตั๊กลัก’ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย คนจีนที่นั่นก็รับรู้กันโดยตลอด
“คนเถ่งไฮ่ รู้จักและรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าตากดี เขาเรียกกันว่า ‘แต้อ๊วง’ แปลว่า พระเจ้าแผ่นดินตระกูลแต้ บ้านเกิดของผมก็อยู่ไม่ไกลจากบ้านของท่าน จำได้ว่าตอนเด็กๆ เคยไปเที่ยวบ้านหลังหนึ่งที่เก่าทรุดโทรมมาก เชื่อกันว่าเป็นบ้านเกิดของพระเจ้าตาก ผมยังเคยได้ยินเรื่องเล่าว่าเมื่อ ‘แต้อ๊วง’ เกิด พ่อของท่านก็พาท่านกลับมาเรียนภาษาที่เมืองจีน จนอายุได้ ๑๐ ขวบจึงส่งมาอยู่เมืองไทย”
นายนิ้มกล่าวว่าคนจีนที่อพยพมาอยู่ต่าง บ้านต่างเมืองนิยมส่งลูกหลานกลับมาเรียนหนังสือที่บ้านเกิด เพราะต้องการให้ลูกหลานได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน และที่สำคัญคือ เมื่อกลับมาเมืองจีนยังมีครอบครัวและญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดคอยดูแล ซึ่งต่างจากเมืองไทยที่อาจต้องใช้ชีวิตตามลำพัง จากการศึกษาประวัติพระบิดาของพระเจ้าตาก ก็พบว่าไม่มีญาติพี่น้องอยู่เมืองไทยมากนัก
บริเวณแหล่งดูดทรายแห่ง หนึ่งในอำเภอเถ่งไฮ่ มีฮวงซุ้ยหรือสุสานเล็กๆ แห่งหนึ่ง ทางเข้าทำเป็นซุ้มขนาดใหญ่ สุสานแห่งนี้เป็นสุสานเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฉียนหลงฮ่องเต้ (พ.ศ. ๒๒๗๘-๒๓๓๙) มีป้ายหินจารึกไว้ว่า “สุสานของ ‘แต้อ๊วง’ ทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ในปี ค.ศ. ๑๙๘๕ ฤดูใบไม้ผลิ”
คนเถ่งไฮ่เชื่อกันว่า หลังจากที่พระเจ้าตากสิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน บรรดาญาติพี่น้องได้นำฉลองพระองค์กลับมายังบ้านเกิด และฝังไว้ที่สุสานแห่งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ
“คนเถ่งไฮ่ ภูมิใจใน ‘แต้อ๊วง’ มาก ว่าเป็นคนบ้านเราที่มีวาสนาเป็นถึงพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทย และมีความกล้าหาญยิ่ง เสี่ยงชีวิตไปรบกับพม่าเพื่อกอบกู้ชาติไทย” นายนิ้มกล่าว
บริเวณสุสานยังมีป้ายหินอีกแผ่นจารึกไว้ว่า “สุสานแห่งนี้เป็นที่ฝังฉลองพระองค์ของ ‘แต้อ๊วง’ ที่นำมาจากเมืองไทย ห้ามผู้ใดทำลายเด็ดขาด” ลงชื่อโดยรัฐบาลท้องถิ่นแห่งอำเภอเถ่งไฮ่
ปัจจุบัน สุสานแห่งนี้ยังมีผู้นำดอกไม้ธูปเทียนมาแสดงความคารวะอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะจากบรรดาลูกหลานคนจีนจากเมืองไทยที่มีโอกาสไปเยี่ยมญาติในประเทศจีน
เมื่อ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๐ พระยาตากสินได้ปราบดาภิเษกพระองค์เองขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี ประชาชนขนานนามพระองค์ว่าพระเจ้ากรุงธนบุรี จากนั้นจึงได้ทรงปราบปรามก๊กต่างๆที่แตกแยกกันตอนเสียกรุงศรีอยุธยา อันมีก๊กเจ้าพระฝาง ก๊กเจ้าพระยาพิษณุโลก ก๊กเจ้านคร และก๊กเจ้าพิมายได้สำเร็จ จึงทรงรวบรวมผืนแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่น และตกทอดมาเป็นมรดกของลูกหลานไทยในปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือวีรบุรุษของชาติไทยที่มีอนุสาวรีย์ และศาลเทพารักษ์ที่อุทิศแด่พระองค์มากมาย พระองค์ทรงเป็นลูกครึ่งไทย-จีน กล่าวคือ มีพระราชบิดาเป็นจีนชื่อไหฮอง มีพระราชมารดาเป็นไทยชื่อนกเอี้ยง และทราบต่อมาว่าจีนไหฮอง มีพื้นเพเดิมอยู่แถบเมืองซัวเถา ในมณฑลกวางตุ้งเป็นจีนแต้จิ๋ว แซ่แต้ ซึ่ง แท้ที่จริงแล้วพระนามของพระราชบิดาพระเจ้าตากสิน นั้นคือ แต้ย้ง หรือ ต๋า และน่าจะมีบ้านเกิดอยู่ที่หมู่บ้านหัวฟู่ อำเภอเฉิ่งไห่ใกล้ๆกับเมืองซัวเถา ด้วยพบหลักฐานสำคัญที่หมู่บ้านนั้น คือศาลประจำตระกูลแต้ และสุสาน บรรจุฉลองพระองค์ของ พระเจ้าตากสิน ซึ่งสุสานนี้ไม่ใช่สุสานฝังพระศพพระเจ้าตากสิน เป็นประเพณีปฏิบัติในหมู่ชาวจีน หากไม่มีศพก็ให้ฝังเสื้อผ้าแทน
สุสานฉลองพระองค์อยู่ริมคูน้ำที่ล้อมรอบหมู่บ้าน สุสานหันหน้าไปยัง แม่น้ำหันเจียง ตัวสุสานเป็นเนินดินรูปครึ่งวงกลมก่ออิฐล้อมรอบมีบันได ทางขึ้นลดหลั่นเป็นระดับสองชั้น หน้าเนินหลุมดินมีแผ่นหินสลักอักษรจีน สามแถวปักประกาศไว้ เป็นประกาศที่แจ้งว่า สถานที่นี้คือสุสานบรรจุ ฉลองพระองค์พระเจ้าตากสินกษัตริย์สยาม ซึ่งเป็นสิ่งเตือนใจให้เรารำลึก ถึงวีรกรรมของพระองค์ ที่ได้ใช้พระปรีชาสามารถรวมแผ่นดินไทยให้เป็น ปึกแผ่นขึ้นใหม่ นับเป็นภารกิจยิ่งใหญ่ที่พวกเราคนไทยไม่ควร ลืมเลือน
ไม่ไกลกันนักที่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นที่ตั้งของศาลประจำตระกูลแต้ ซึ่งคงเป็นบ้านเดิมของพระราชบิดาแต้ย้ง ตัวศาลเป็นอาคารสามหลัง ชั้นเดียวสร้างติดกันก่อด้วยอิฐ หลังคาทรงเก๋งจีน ศาลแห่งนี้มีประตูเหล็ก โปร่งมีแผ่นหินสลักอักษรจีนค่อนข้างเลือนรางติดข้างประตูใจความว่า เป็นศาลประจำ ตระกูลแต้ สถาปนาในปีที่ ๑๑ แห่งศักราชสาธารณรัฐจีน (พ.ศ.๒๔๖๕) ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรม
สถานที่สำคัญทั้ง ๒ แห่ง ที่หมู่บ้านหัวฟู่นี้ เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ อันมีความหมายต่อชาติไทย และเป็นหน้าที่ของคนไทย ที่จะต้องช่วยกัน ดูแลรักษาให้ดีกว่านี้ และให้คงอยู่สืบไป
คน ไทยส่วนใหญ่อาจไม่รู้จักอำเภอเล็กๆ อย่างเถ่งไฮ่ แต่สำหรับลูกหลานชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย น่าจะคุ้นหูกับชื่อนี้ดี
คนจีนที่อพยพข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาทำมาหา กินบนแผ่นดินไทยในอดีต ส่วนใหญ่มาจากเมืองแต้จิ๋ว โดยเฉพาะจากอำเภอเถ่งไฮ่ซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล การเดินทางข้ามมาเมืองไทยสะดวกกว่า ด้วยเหตุนี้คนจีนในเมืองไทยส่วนใหญ่จึงพูดภาษาแต้จิ๋ว บุคคลที่มีชื่อเสียงหลายคน นับตั้งแต่ ปรีดี พนมยงค์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ รวมถึงคนในตระกูลรัตตกุล ตระกูลหวั่งหลี ตระกูลเจียรวนนท์ ก็ล้วนมีบรรพบุรุษที่อพยพมาจากอำเภอเถ่งไฮ่
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือที่เรามักเรียกกันว่า พระเจ้าตาก ก็ ทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋ว พระบิดาของพระองค์เป็นชาวแต้จิ๋ว เกิดในตระกูลแต้ ชื่อนายแต้เจียว อพยพจากอำเภอเถ่งไฮ่เข้ามาค้าขายในเมืองไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนพระมารดาเป็นคนไทย ชื่อนางนกเอี้ยง มีอาชีพค้าขาย พระเจ้าตากทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๒๗๗ (หนังสือบางเล่มกล่าวว่าทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๒๗๗) มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ พระเจ้าตากทรงได้กลับไปศึกษาที่ประเทศจีนระยะหนึ่งด้วย
นายนิ้ม แซ่ตั้ง วัย ๗๙ ปี ชาวจีนซึ่งเกิดในอำเภอเถ่งไฮ่และอพยพมาตั้งรกรากในเมืองไทยเมื่อ ๖๐ ปีก่อน เล่าให้ฟังว่า
“สมัย ที่ผมอยู่เมืองจีน คนเถ่งไฮ่รู้จักเมืองไทยดี เพราะเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้วที่คนเถ่งไฮ่เดินทางมาค้าขายที่เมืองไทย ที่มาตั้งรกรากอยู่เมืองไทยเลยก็มีมาก ความสัมพันธ์ไทย-จีนนั้นแน่นแฟ้นมาก ถึงกับมีคำไทยที่กลายเป็นภาษาแต้จิ๋ว คือคำว่า ตลาด ชาวแต้จิ๋วเอาไปใช้โดยออกเสียงว่า ‘ตั๊กลัก’ เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย คนจีนที่นั่นก็รับรู้กันโดยตลอด
“คนเถ่งไฮ่ รู้จักและรู้เรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าตากดี เขาเรียกกันว่า ‘แต้อ๊วง’ แปลว่า พระเจ้าแผ่นดินตระกูลแต้ บ้านเกิดของผมก็อยู่ไม่ไกลจากบ้านของท่าน จำได้ว่าตอนเด็กๆ เคยไปเที่ยวบ้านหลังหนึ่งที่เก่าทรุดโทรมมาก เชื่อกันว่าเป็นบ้านเกิดของพระเจ้าตาก ผมยังเคยได้ยินเรื่องเล่าว่าเมื่อ ‘แต้อ๊วง’ เกิด พ่อของท่านก็พาท่านกลับมาเรียนภาษาที่เมืองจีน จนอายุได้ ๑๐ ขวบจึงส่งมาอยู่เมืองไทย”
นายนิ้มกล่าวว่าคนจีนที่อพยพมาอยู่ต่าง บ้านต่างเมืองนิยมส่งลูกหลานกลับมาเรียนหนังสือที่บ้านเกิด เพราะต้องการให้ลูกหลานได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน และที่สำคัญคือ เมื่อกลับมาเมืองจีนยังมีครอบครัวและญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดคอยดูแล ซึ่งต่างจากเมืองไทยที่อาจต้องใช้ชีวิตตามลำพัง จากการศึกษาประวัติพระบิดาของพระเจ้าตาก ก็พบว่าไม่มีญาติพี่น้องอยู่เมืองไทยมากนัก
บริเวณแหล่งดูดทรายแห่ง หนึ่งในอำเภอเถ่งไฮ่ มีฮวงซุ้ยหรือสุสานเล็กๆ แห่งหนึ่ง ทางเข้าทำเป็นซุ้มขนาดใหญ่ สุสานแห่งนี้เป็นสุสานเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเฉียนหลงฮ่องเต้ (พ.ศ. ๒๒๗๘-๒๓๓๙) มีป้ายหินจารึกไว้ว่า “สุสานของ ‘แต้อ๊วง’ ทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ในปี ค.ศ. ๑๙๘๕ ฤดูใบไม้ผลิ”
คนเถ่งไฮ่เชื่อกันว่า หลังจากที่พระเจ้าตากสิ้นพระชนม์ได้ไม่นาน บรรดาญาติพี่น้องได้นำฉลองพระองค์กลับมายังบ้านเกิด และฝังไว้ที่สุสานแห่งนี้เพื่อเป็นการแสดงความเคารพ
“คนเถ่งไฮ่ ภูมิใจใน ‘แต้อ๊วง’ มาก ว่าเป็นคนบ้านเราที่มีวาสนาเป็นถึงพระเจ้าแผ่นดินของประเทศไทย และมีความกล้าหาญยิ่ง เสี่ยงชีวิตไปรบกับพม่าเพื่อกอบกู้ชาติไทย” นายนิ้มกล่าว
บริเวณสุสานยังมีป้ายหินอีกแผ่นจารึกไว้ว่า “สุสานแห่งนี้เป็นที่ฝังฉลองพระองค์ของ ‘แต้อ๊วง’ ที่นำมาจากเมืองไทย ห้ามผู้ใดทำลายเด็ดขาด” ลงชื่อโดยรัฐบาลท้องถิ่นแห่งอำเภอเถ่งไฮ่
ปัจจุบัน สุสานแห่งนี้ยังมีผู้นำดอกไม้ธูปเทียนมาแสดงความคารวะอยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะจากบรรดาลูกหลานคนจีนจากเมืองไทยที่มีโอกาสไปเยี่ยมญาติในประเทศจีน
- taksin 2.JPG (25.75 KiB) เปิดดู 5841 ครั้ง
เมื่อ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๓๑๐ พระยาตากสินได้ปราบดาภิเษกพระองค์เองขึ้นเป็นกษัตริย์ครองกรุงธนบุรี ประชาชนขนานนามพระองค์ว่าพระเจ้ากรุงธนบุรี จากนั้นจึงได้ทรงปราบปรามก๊กต่างๆที่แตกแยกกันตอนเสียกรุงศรีอยุธยา อันมีก๊กเจ้าพระฝาง ก๊กเจ้าพระยาพิษณุโลก ก๊กเจ้านคร และก๊กเจ้าพิมายได้สำเร็จ จึงทรงรวบรวมผืนแผ่นดินไทยให้เป็นปึกแผ่น และตกทอดมาเป็นมรดกของลูกหลานไทยในปัจจุบัน
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช คือวีรบุรุษของชาติไทยที่มีอนุสาวรีย์ และศาลเทพารักษ์ที่อุทิศแด่พระองค์มากมาย พระองค์ทรงเป็นลูกครึ่งไทย-จีน กล่าวคือ มีพระราชบิดาเป็นจีนชื่อไหฮอง มีพระราชมารดาเป็นไทยชื่อนกเอี้ยง และทราบต่อมาว่าจีนไหฮอง มีพื้นเพเดิมอยู่แถบเมืองซัวเถา ในมณฑลกวางตุ้งเป็นจีนแต้จิ๋ว แซ่แต้ ซึ่ง แท้ที่จริงแล้วพระนามของพระราชบิดาพระเจ้าตากสิน นั้นคือ แต้ย้ง หรือ ต๋า และน่าจะมีบ้านเกิดอยู่ที่หมู่บ้านหัวฟู่ อำเภอเฉิ่งไห่ใกล้ๆกับเมืองซัวเถา ด้วยพบหลักฐานสำคัญที่หมู่บ้านนั้น คือศาลประจำตระกูลแต้ และสุสาน บรรจุฉลองพระองค์ของ พระเจ้าตากสิน ซึ่งสุสานนี้ไม่ใช่สุสานฝังพระศพพระเจ้าตากสิน เป็นประเพณีปฏิบัติในหมู่ชาวจีน หากไม่มีศพก็ให้ฝังเสื้อผ้าแทน
- taksin 3.JPG (11.99 KiB) เปิดดู 5841 ครั้ง
สุสานฉลองพระองค์อยู่ริมคูน้ำที่ล้อมรอบหมู่บ้าน สุสานหันหน้าไปยัง แม่น้ำหันเจียง ตัวสุสานเป็นเนินดินรูปครึ่งวงกลมก่ออิฐล้อมรอบมีบันได ทางขึ้นลดหลั่นเป็นระดับสองชั้น หน้าเนินหลุมดินมีแผ่นหินสลักอักษรจีน สามแถวปักประกาศไว้ เป็นประกาศที่แจ้งว่า สถานที่นี้คือสุสานบรรจุ ฉลองพระองค์พระเจ้าตากสินกษัตริย์สยาม ซึ่งเป็นสิ่งเตือนใจให้เรารำลึก ถึงวีรกรรมของพระองค์ ที่ได้ใช้พระปรีชาสามารถรวมแผ่นดินไทยให้เป็น ปึกแผ่นขึ้นใหม่ นับเป็นภารกิจยิ่งใหญ่ที่พวกเราคนไทยไม่ควร ลืมเลือน
- taksin 4.JPG (13.47 KiB) เปิดดู 5841 ครั้ง
ไม่ไกลกันนักที่ใจกลางหมู่บ้าน เป็นที่ตั้งของศาลประจำตระกูลแต้ ซึ่งคงเป็นบ้านเดิมของพระราชบิดาแต้ย้ง ตัวศาลเป็นอาคารสามหลัง ชั้นเดียวสร้างติดกันก่อด้วยอิฐ หลังคาทรงเก๋งจีน ศาลแห่งนี้มีประตูเหล็ก โปร่งมีแผ่นหินสลักอักษรจีนค่อนข้างเลือนรางติดข้างประตูใจความว่า เป็นศาลประจำ ตระกูลแต้ สถาปนาในปีที่ ๑๑ แห่งศักราชสาธารณรัฐจีน (พ.ศ.๒๔๖๕) ซึ่งอยู่ในสภาพทรุดโทรม
สถานที่สำคัญทั้ง ๒ แห่ง ที่หมู่บ้านหัวฟู่นี้ เป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ อันมีความหมายต่อชาติไทย และเป็นหน้าที่ของคนไทย ที่จะต้องช่วยกัน ดูแลรักษาให้ดีกว่านี้ และให้คงอยู่สืบไป
- ไฟล์แนป
-
- taksin 1.JPG (28.92 KiB) เปิดดู 5841 ครั้ง
-
LanNy - โพสต์: 190
- ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ 10 ต.ค. 2009 5:12 pm
-
-
1 โพสต์
• หน้า 1 จากทั้งหมด 1
ย้อนกลับไปยัง บทความ | สารคดี | Movie | Clip การท่องเที่ยว
ผู้ใช้งานขณะนี้
กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน
- หน้าเว็บบอร์ด
- ทีมงาน • ลบคุ้กกี้ • Delete style cookies • เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by TravelProThai © 2010